Written by 12:14 am กำลังมาแรง, ความรู้, น่าสนใจ, เราเลือกให้คุณ, ไลฟ์สไตล์

 3 เคล็ด (ไม่) ลับ บริหารการเงินอย่างไรให้มีเงินออม 

taxes due written planner close up

ค่าครองชีพที่นับวันยิ่งพุ่งขึ้นสูง ทำให้หลายคนมีรายจ่ายที่สวนทางกับรายได้ ดั่งฟ้ากับเหว อยากมีเงินเก็บ อยากมีเงินออม แต่เงินใช้จ่ายในแต่ละวันก็แทบจะไม่พอ แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาเก็บออม เป็นปัญหาสภาพทางการเงินที่เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบัน แล้วจะทำอย่างไรให้มีเงินเก็บกับเขาบ้าง ไปดูเคล็ด (ไม่) ลับ บริหารการเงินอย่างไรให้มีเงินออม ที่เราได้นำมาฝากกันดีกว่า 

putting euro banknote into glass jar savings concept collecting money big purchase

1. ตั้งเป้าหมายชัดเจน

อันดับแรกเลยคือตั้งเป้าหมายการเงินที่ต้องการ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน ได้แก่ 

เงินออมระยะสั้น (Short Term) 

เงินออมที่เก็บสำหรับนำมาใช้ในช่วงระยะเวลา 0 – 2 ปี เช่น เงินสำรองฉุกเฉิน โดยการเลือกออมแบบนี้ ควรเป็นช่องทางที่มีสภาพคล่องในการเบิกถอนได้สะดวก มีความเสี่ยงต่ำ และผลตอบแทนอยู่ที่ 0 – 3 % เช่น เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ กองทุนตราสารหนี้ เป็นต้น 

เงินออมระยะกลาง (Mid Term) 

เงินออมสำหรับนำมาใช้ในช่วงระยะเวลา 2 – 10 ปี เช่น ออมเงินเพื่องานแต่งง่าน ดาวน์บ้าน ดาวน์รถ หรือ เพื่อลงทุนธุรกิจ ซึ่งการเลือกออมเงินในระยะกลาง ควรมีความสภาพคล่องการเบิกถอนปานกลาง มีความเสี่ยงปานกลาง แต่มีระยะเวลาในการออมอย่างชัดเจน อย่าง สลากออมสิน พันธบัตรรัฐบาล (ระยะเวลาออม 5 ปี) หุ้นกู้เอกชน (ระยะเวลาออม 7 ปี)  มีผลตอบแทนอยู่ที่ 3 – 5 % ซึ่งสูงกว่าชนิดการออมทรัพย์  

เงินออมระยะยาว (Long Term) 

เงินออมที่เก็บไว้เพื่อนำมาใช้ในช่วงเวลา 10 ปีขึ้นไป เช่น เงินออมเพื่อการเกษียณ เงินออมเพื่อการศึกษาของบุตร ประเภทการออมควรเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงในระยะยาว เช่น การลงทุนทองคำ RMF กองทุนหุ้นต่าง ๆ อสังหาริมทรัพย์ หรือ ประกันบำนาญ เป็นต้น โดยผลตอบแทนขึ้นอยู่กับระยะเวลาออม ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิน 5% ขึ้นไป

จากนั้นสร้างแผนทางการเงิน โดยจะต้องกำหนดเวลาอย่างชัดเจน รู้วิธีการลงมือทำ สามารถทำได้จริง และวัดผลได้  

taxes due written planner close up
taxes due written planner close up

2. เก็บออม ไม่ฟุ่มเฟือย 

ฝึกบริหารจัดการเงินให้เป็นนิสัย โดยเริ่มจากการบันทึกรายรับ – รายจ่าย เป็นประจำ เพื่อให้เราสามารถติดตามการเงิน และรู้ถึงแหล่งการจ่ายเงิน รู้ว่าใช้จ่ายเงินไปกับอะไร ทำให้กำหนดพฤติกรรมการใช้เงินในครั้งต่อไป อะไรควรจ่าย และอะไรควรลด ให้ดีควรมีการแบ่งหมวดหมู่ในการใช้จ่าย เช่น ค่ากิน ค่าเดินทาง ค่าสิ่งอำนวยความสะดวก (ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต) จะทำให้เราสามารถตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปได้ง่ายขึ้น 

percentage icon wood cubes stacks coins nature background increasing price concept increas

3. ลงทุนสม่ำเสมอ

การเปลี่ยนให้เงินออมงอกเงยทำได้โดยการนำไปลงทุน โดยเลือกลงทุนกับสินทรัพย์ที่เรามีความรู้และเข้าใจอย่างดี หรือศึกษาข้อมูลในการลงทุนที่สนใจให้เข้าใจอย่างละเอียด เพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งการลงทุนมีหลายรูปแบบให้เลือกด้วยกัน โดยแต่ละชนิดมีระยะเวลา และความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป อาจเลือกจากความสนใจ หรือรูปแบบที่เข้ากับสไตล์ของตน เช่น หุ้นกองทุนรวม การกักตุนซื้อทอง และอื่น ๆ  

เชื่อว่าใครที่ทำตาม 3 ข้อนี้ไปเรื่อย ๆ แม้จะเริ่มจากทีละเล็กทีละน้อย แต่ถ้าหากมุ่งมั่นและทำเป็นประจำ คนเงินเดือนน้อยนิดก็มีเงินเก็บได้เช่นกัน

(Visited 43 times, 1 visits today)
Close