Written by 2:02 am น่าสนใจ

รู้หลักในการทำ CPR ควรทำอย่างไร เพิ่มโอกาสให้คนรอดชีวิตได้จริง

การทำ CPR คืออะไร

CPR ย่อมาจาก Cardiopulmonary resuscitation คือ การช่วยเหลือผู้ป่วยที่หัวใจกำลังจะหยุดเต้น ให้กลับมาหายใจหรือมีลมหายใจไหลเวียนได้ตามปกติ แต่การปั๊มหัวใจหรือทำ CPR นั้น หลักสำคัญอยู่ที่วิธีการทำถูกต้องและทันเวลา เพราะถ้าทำหลังจากสมองขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเกิน 4 นาที แม้ว่าจะกลับมาหายใจได้ แต่สมองอาจเกิดการเสียหายไปแล้วเช่นกัน

เมื่อไรถึงควรทำ CPR 

กรณีที่ผู้ป่วยจมน้ำ สำลักควันไฟ หัวใจวาย ประสบอันตรายจากไฟฟ้า หรือเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ จนหมดสติ มีลมหายใจอ่อน หัวใจใกล้หยุดเต้น หรือเพิ่งหยุดหายใจไปไม่นาน โดยสามารถใช้หลักวิธีการปั๊มหัวใจดังต่อไปนี้ 

วิธีทำ CPR ที่ถูกต้อง 

1. ประเมินการตอบสนองและการหายใจ

เมื่อเจอผู้ป่วยหรือผู้ประสบอุบัติเหตุ ให้จับไหล่ผู้บาดเจ็บแล้วเขย่าและเรียกสติ พร้อมมองดูสีหน้าเพื่อดูการตอบสนอง สังเกตลักษณะการหายใจ โดยมองจากการเคลื่อนไหวของทรวงอกและหน้าท้อง 

2. ขอความช่วยเหลือ 

โทร 1669 หรือตะโกนขอความช่วยเหลือให้คนโทรเรียก 1669 จากนั้นให้จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นเรียบที่ยุบตัว 

3. ปั๊มหัวใจ (สามารถใช้ได้กับผู้บาดเจ็บทุกกรณี) 

  • วางมือที่กึ่งกลางหน้าอก 
  • กดด้วยสันมือ 2 ข้างซ้อนกัน 
  • กดมือทั้งสองลงให้ลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว

4. เปิดทางเดินหายใจ 

กดหน้าผากและยกคางให้แหงนขึ้น เพื่อดึงลิ้นขึ้นไม่ให้ไปอุดกั้นทางเดินหายใจ พร้อมกับสังเกตภายในปากหากมีสิ่งผิดปกติก็ให้นำออก ป้องกันการอุดกั้นลมหายใจ 

5. ช่วยให้หายใจ 

  • เป่าปาก 2 ครั้ง ด้วยการอ้าปากครอบปากผู้ป่วย 
  • หากทรวงอกไม่ขยาย ให้กดหน้าผากและเชยคางให้มากขึ้น 

การทำ CPR ควรทำด้วยอัตราอย่างไร หรือต้อง CPR กี่ครั้งต่อนาที 

เมื่อเริ่มกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อยประมาณ 2 นิ้ว หรือประมาณ 5 เซนติเมตร โดยใช้อัตราเร็ว 100-120 ครั้ง / นาที  

เมื่อไรควรหยุดทำ CPR

ควรทำ CPR และเป่าปากต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนกว่าผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัว สังเกตจากการหายใจ ขยับแขน ขา ไอ มีการกลืน โดยอัตราการกดหน้าอก / เป่าปาก  30 : 2 ครั้ง หากมีผู้ช่วยสลับกันได้ ก็ให้สลับกันทำ CPR ทุก ๆ 5 รอบ หากผู้ป่วยยังไม่ฟื้น ก็ทำ CPR ไปเรื่อย ๆ จนกว่าหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ หรือทีมกู้ภัยจะมา พร้อมกับการช่วยเหลือด้วยเครื่อง AED ก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาล 

อย่างไรก็ตาม ควรเรียกคนให้ช่วยติดต่อ 1669 หรือ 1745 ระหว่างการทำ CPR เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้เดินทางมาช่วยเหลือได้เร็วที่สุด หรือถ้าสามารถนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้ด้วยตนเอง ก็สามารถทำ CPR ระหว่างนำส่งโรงพยาบาลได้เช่นกัน

(Visited 22 times, 1 visits today)
Close